Free4Win ฉบับนี้ขอแนะนำซอฟต์แวร์เสรีที่มีประโยชน์ในด้านการศึกษาวิชาดาราศาสตร์เป็น อย่างยิ่ง ชื่อโปรแกรม Celestia ครับ เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาและเผยแพร่ตามแนวทางโอเพ่นซอร์ส ภายใต้ข้อตกลงและเอกสารสิทธิ์แบบ General Public License ( GPL ) เช่นเดียวกับ ลีนุกซ์ หรือซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สอื่นๆที่เรารู้จักกันดี Celestia เป็นชื่อที่มีความหมายว่า "ดินแดนในจินตนาการที่อยู่บนท้องฟ้า" ซึ่งช่างเหมาะสมกับคุณสมบัติของโปรแกรมนี้จริงๆ เพราะ Celestia เป็นโปรแกรมที่สามารถสร้างภาพจำลองของอวกาศ ( Space Simulation ) ได้ในแบบเวลาจริง ( Real Time ) ทำให้เราสามารถสัมผัสกับประสบการณ์ในอวกาศแบบ 3 มิติได้อย่างสมจริง ด้วยเทคโนโลยีการแสดงผลแบบ OpenGL ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระบบเปิดจึงทำให้ซอฟต์แวร์ตัวนี้สามารถรันได้กับ คอมพิวเตอร์ทุกระบบ ( Cross Platforms ) ไม่ว่าจะเป็น MS Windows ,Mac OS หรือ Linux ก็ตาม ต้นกำเนิดของ Celestia เริ่มต้นขึ้นในปี คศ. 2001 จากแรงบันดาลใจและการสร้างสรรค์ของ Mr. Chris Laurel โปรแกรมของ WA Computer,Seattle ที่ต้องการสร้างโปรแกรมจำลองสภาพในอวกาศให้ผู้ชมในเวิร์ดไวด์เว็บสามารถท่อง ไปได้ทุกๆ แห่งในอวกาศ และต้องรู้สึกว่าได้เคลื่อนที่ไปยังจุดหมายที่ต้องการได้อย่างอิสระและสม จริงที่สุด ไม่ใช่เป็นการเปิดหน้าเอกสารที่ละหน้าๆ อย่างที่เป็นอยู่ในการค้นหาข้อมูลในเอนไซโครปีเดีย แต่จะต้องเหมือนกับการบินไปในอวกาศที่เป็นสภาพ 3 มิติอย่างแท้จริง ( ไม่มีจุดอ้างอิงว่าด้านไหนเรียกว่าด้านบน ล่าง ตะวันออกหรือตะวันตก ) คุณจะสามารถบินจากโลกผ่านดวงจันทร์ทะลุออกไปนอกกาแลคซี่ทางช้างเผือกไปสู่กา แลคซี่อื่นได้ตามที่ต้องการ มีผู้คนมากกว่า 1600 คนที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกในฟอรั่มของ Celestia และโปรแกรมนี้ถูกดาวโหลดไปแล้วมากกว่า 2.2 ล้านสำเนา คุณก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนี้ได้เช่นกัน รวมทั้งสามารถดาวน์โหลดตัวโปรแกรมและเอกสารได้ที่ http://www.shatters.net
ตัวอย่างการใช้โปรแกรม
|
เริ่มต้นด้วยการกำหนดเวลาเป็นวันที่ 22 ก.ค. 2552 เวลา 06:58:12 ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งเป็นเวลาเริ่มบัง แล้วหมุนอ้อมโลก
ไปที่จุดกึ่งกลางของด้านสว่างด้วยการลากด้วยเมาส์ปุ่มขวา |
|
ปรับละเอียดให้แน่ใจว่าเป็นมุมที่ตรงกับดวงอาทิตย์ ด้วยการถอยหลังสู่ดวงอาทิตย์ด้วยการหมุนล้อเมาส์ ยักย้ายมุมจนกระทั่งดวงอาทิตย์บังโลกพอดี (เส้นสีแดงคือวงโคจรของโลก) | |
|
กลิ้งล้อเมาส์กลับมาที่โลกอีกครั้ง ก่อนถึงโลกจะเจอมุมที่เห็นทั้งโลกทั้งดวงจันทร์ |
ตัวอย่างภาพจากโปรแกรม
แหล่งที่มาของข้อมูล
http://th.wikipedia.org/wiki/Celestia
http://www.itdestination.com/articles/celestia/
http://www.krumontree.com/science/celestia.html
http://www.shatters.net
http://debianclub.org/node/476
เว็บสำหรับดาวน์โหลดโปรแกรม
http://www.shatters.net/celestia/download.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น